แพ้ยาง! หากแพ้ถุงมือยาง ควรทำอย่างไร
ถุงมือแพทย์ถุงมือแพทย์ที่ใช้ หากแพ้ยางจากถุงมือต้องทำอย่างไร?
ถุงมือแพทย์จากยางธรรมชาตินั้น ได้มาจากต้นยางพารา ซึ่งเดิมจะเป็นน้ำยางมีลักษณะเป็นนของเหลวขุ่นข้น แล้วผ่านกระบวนการผลิตจนเป็นถุงมือยางชนิดถุงมือแพทย์ ซึ่งในบางครั้งอาจเกิดปัญหาเรื่องการแพ้ยางกับผู้สวมใส่ อันที่จริงไม่ได้เกิดจากยางหรอกครับ แต่ปัญหาเรื่องการแพ้ยางจะเกิดเพราะโปรตีนที่อยู่ในยางธรรมชาติมากกว่า
ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา โปรตีนจากยางธรรมชาติซึ่งใช้ในการผลิต ถุงมือยาง ถุงยาง ลูกโป่ง หนังยาง ยางลบ และของเล่น ได้สร้างปัญหาแก่ผู้สวมใส่ที่มีอาการแพ้ จวบจนกระทั่งในปี 1990 ได้มีกาคิดค้นยางสังเคราะห์ หรือยางธรรมชาติแบบชนิดไม่มีแป้งขึ้นมาได้ ทำให้ปัญหาเรื่องการแพ้แป้งลดลงไปอย่างมาก
บทความก่อนหน้า ทาง Siamglove.com ได้กล่าวถึงชนิดของถุงมือ การเลือกใช้ ตลอดจนการแพ้ถุงมือ ทั้งแพ้แป้งในถุงมือแพทย์ชนิดมีแป้ง และการแพ้ยาง โดยกล่าวถึงสาเหตุและอาการแพ้ไปแล้ว ในบทความนี้จะกล่าวถึงข้อปฎิบัติ เมื่อเราทราบหรือสงสัยว่าแพ้ยาง เราควรปฎิบัติอย่างไร
ปฎิกิริยาการแพ้ยางธรรมชาติ
การแพ้ยางธรรมชาติมีสาเหตุมาจากปัญหาเรื่องภูมิต้านทานของผู้สวมใส่ โดยระบบจะมีปฎิกิริยาต่อสารต่างๆที่เข้าสู่ร่างการหรือสัมผัสกับร่างกายแตกต่างกันไป เช่นถ้าคุณมีอาการแพ้ก็เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายมีปฎิกิริยาต่อต้านสารโปรตีนที่อยู่ในยาง โดยจะผลิต antibodies (ที่เรียกว่า Immunoglobulin E – IgE) แอนติบอดี้จะเข้าสู่เซลแล้วจะปล่อยสารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ โดยจะปรากฏตามผิวหนัง จมูก ปอด คอ ท้อง เป็นต้น
ผู้แพ้ยางจะมีอาการต่างๆเช่น คันผิวหนัง, เป็นผื่น, บวม, พอง, ไอ, จาม, หอบ, หายใจติดขัด อย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจผสมกันที่เรียก anaphylaxis (an-a-fi-LAK-sis) ซึ่งจะต้องพบแพทย์ทันที
อาการแพ้เหล่านี้นอกจากเกิดจากการสัมผัสกันโดยตรงแล้วอาจเกิดจากโปรตีนนยางฟุ้งกระจายในอากาศ โดยเฉพาะในถุงมือแพทย์ชนิดมีแป้ง เพราะโปรตีนอาจติดไปกับแป้งที่ฟุ้งกระจาย โดยโปรตีนอาจสัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกายของผู้สวมใส่หรือของคนข้างๆโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการสวมถุงมือชนิดไม่มีแป้งหรือยางสังเคราะห์เช่น ไนไตร ไวนิล จะลดโอกาสการฟุ้งกระจายเหล่านี้
ข้อปฎิบัติเมื่อเกิดการแพ้สารโปรตีนในถุงมือยาง
หากเราทราบว่ามีอาการแพ้ยาง เราควรทำตัวอย่างไร ผมมีหลักง่ายๆดังนี้ครับ
เมื่อผู้สวมใส่ถุงมือแพทย์ทราบว่ามีการแพ้โปรตีนในถุงมือยาง ผู้สวมใส่ต้องตระหนักหรือทราบถึงสาเหตุที่ตนเองแพ้ และคอยระมัดระวังตัวไว้ตลอดเวลา
ผู้สวมใส่ถุงมือแพทย์ที่มีอาการแพ้ จะต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรู้ว่าตนเองแพ้ในระดับไหน เพื่อหาทางป้องกัน หรือรักษาต่อไป ซึ่งคุณหมอจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าผู้ป่วยแพ้ในระดับไหน
ถ้าอาการแพ้สารโปรตีนของผู้สวมใส่อยู่ในระดับที่รุนแรง ผู้สวมใส่ควรแจ้งหัวหน้า เพื่อให้จัดหาถุงมือชนิด latex-free เช่นถุงมือไนไตร หรือ ถุงมือไวนิล เนื่องจากถุงมือไนไตรหรือถุงมือไวนิล จะไม่มี Latex เป็นส่วนผสม (จัดเป็น Synthetic latex gloves ชนิดหนึ่ง) และถุงมือดังกล่าวแทบจะใช้แทนถุงมือแพทย์จากยางธรรมชาติได้เลยทีเดียว แต่ราคาอาจสูงกว่า
และถ้าคุณมีอาการแพ้รุนแรง หากคุณใส่ถุงมือชนิด latex-free เช่นถุงมือไนไตร หรือไวนิล ก็อาจไม่เพียงพอ เพราะเพื่อนร่วมงาน หรือบุคคลข้างเคียงอาจสาวมถุงมือยางธรรมชาติชนิดมีแป้ง ซึ่งอาจพาพาโปรตีนฟุ้งกระจายมากับแป้งดังกล่าว ซึ่งผู้มีอาการแพ้โปรตีนในยาง อาจสัมผัส หรือสูดหายใจ เอา Latex เข้าไป ดังนั้นผู้มีอาการแพ้ ควรหลีกเลี่ยงบริเวณดังกล่าว
พึงระลึกเสมอว่าผู้มีอาการแพ้ยาง ซึ่งที่จริงคือแพ้โปรตีนในยาง หากแพ้ชนิดรุนแรง นอกจากหลีกเลี่ยงการสัมผัสยางจากถุงมือยางธรรมชาติแล้ว ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากยางชนิดอื่นๆด้วย เช่นหนังยาง ถุงยาง ลูกโป่ง เป็นต้น
สุดท้ายนี้ ถ้าคุณมีอาการแพ้รุนแรง นอกจากโปรตีนในถุงมือแพทย์ทีคุณควรระมัดระวัง ทั้งสวมใส่เองและจากเพื่อนร่วมงานแล้ว คุณควรระมัดระวังในการบริโภคอาหารบางอย่างเช่นกล้วย อะโวคาโด กีวี ซึ่งอาหารเหล่านี้ก้มีโปรตีนชนิดเดียวกับในยางธรรมชาติเช่นกันครับ
หวังว่าบทความชิ้นนี้คงจะทำให้ผู้แพ้ยางธรรมชาติมีแนวทางป้องกันมากขึ้น และหากยังกังวล ก็อาจพิจารณาถุงมือ latex free จำพวกถุงมือไนไตร (หรือถุงมือยางไนไตร) ก็ได้ลองติดต่อ siamglove.com ได้ตลอดเวลาครับ