แป้งในถุงมือ – มิตรหรือศัตรู

ถุงมือแพทย์ชนิดมีแป้งถุงมือแพทย์แบบมีแป้ง มีจำหน่ายมากมายตามท้องตลาด ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็มีกรรมวิธีไม่แตกต่างกันมากนัก แต่บทความนี้ผมเขียนเพื่อช่วยไขข้อข้องใจว่า แป้งในถุงมือ เป็นอย่างไร มีหน้าที่อะไร มีประโยชน์และโทษอย่างไร ส่วนเราควรใช้หรือไม่ ก็ขอให้อยู่ที่ท่านผู้อ่านพิจารณาเองครับ

(สงวนลิขสิทธิ์ บทความนะครับ – ถ้าใครต้องการ ให้ Email มาขอครับ)

ถุงมือชนิดมีแป้งซื่งพบเห็นอยู่ทั่วไป และเป็นสิ่งที่เราท่านๆ ที่ปฎิบัติการในห้องแลป ใช้อยู่เป็นประจำ (แม้ว่าในปัจจุบันถุงมือแบบไม่มีแป้ง มีบทบาทและมีผู้ใช้มากขึ้นก็ตาม และตลาดส่วนใหญ่ในบ้านเรา ยังเป็นถุงมือแบบมีแป้งอยู่) จริงอยู่ครับที่ถุงมือไม่มีแป้งออกมาทีหลัง และเป็นถุงมือที่ “มีเกรด” ดีกว่าถุงมือแบบมีแป้ง แต่เราๆก็คุ้นเคยถุงมือแบบมีแป้งมานานนับสิบปี ถุงมือมีแป้งมีข้อดีคือสวมใส่ง่าย (กว่าถุงมือไม่มีแป้ง) และยังสวมได้นานกว่า แป้งจะดูดซับเหงื่อที่มือ ทำให้เรารู้สึกว่าใส่แล้วไม่รำคาญ

บทบาทของแป้งในถุงมือแพทย์

เรามักเข้าใจเอาว่า ผงในถุงมือเป็นลักษณะคล้ายแป้งทาตัว แต่ในความเป็นจริง ผงในถุงมือเป็น สารที่ช่วยให้ลื่นในการสวมใส่ (USP Absorbable Dusting Powder) ประกอบด้วยแป้งข้าวโพด ที่ปรับลดแมกนีเซียมออกไซด์ ให้น้อยกว่า 2% เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแครกกิ้ง และอาจมีการเติม ฟอสฟอรัสออกซีคลอไรด์ (หรือ epichorhydrin) ผงแป้งละลายในขณะฆ่าเชื้อ รวทั้งไม่ให้ละลายไปกับเหงื่อขณะใช้งาน (จริงๆมีข้อกำหนดว่า ผงแป้งจะสามารถทน ต่อน้ำเดือดได้ 20 นาที โดยไม่ละลาย)

ผงแป้ง ในถุงมือมีแป้ง โดยปกติจะใช้เพื่ออำนวยความสะดวกสวมใส่ บางผงแป้งที่ควรจะอยู่ด้านในอาจหลุดลอดออกมาด้านนอกคุณสมบัติดูดซึมสูงของผงทำให้เหมาะสำหรับการสวมใส่ถุงมือ เมื่อมือของผู้สวมชื้น
ผงของถุงมือในถุงมือแพทย์ชนิดมีแป้ง มีผลกระทบต่อการทำงานในห้องปฏิบัติการหรือไม่?

ผงแป้งถึงตอนนี้เราได้ทราบกันแล้วว่า ผงในถุงมือสามารถดูดซับน้ำได้ ซึ่ง หมายความว่าในระหว่างกระบวนการผลิตถุงมือ, ผงแป้งอาจดึงดูดสารเคมี จุลินทรีย์ โปรตีนจากน้ำยางธรรมชาติ, ซิลิโคน เป็นต้น เมื่อผู้ใช้สวมถุงมือ สารดังกล่าวที่อยู่ในผงแป้ง(ที่ถูกดูซึมในระหว่างการผลิต) จะการสัมผัสโดยตรงกับผิวของผู้ใช้ และคุณสมบัติการดูดซับนี้ อาจไปดูดซับ ไขมันและความชื้นตามธรรมชาติออกจากมือ ทำให้มือมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ผงแป้งยังอาจฟุ้งกระจาย และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางจมูกคอและทางเดินหายใจ และผงถุงมือที่มีสภาวะเป็นเบส อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ง่ายอีกด้วย

ถ้าจะให้ผมพูดอย่างเวอร์ๆ นะครับว่าสิ่งที่ร้ายแรงที่สุดที่ ผงแป้งในถุงมือก่อให้เกิดอันตรายได้ก็เช่น ทำให้เซลของผิวหนังเปิด (skin cracking) สารต่างๆเข้าสู่ผิวหนัง เกิดอาการแพ้ (ในบางคน) และคนที่แพ้น้ำยาง (โปรตีนจากน้ำยาง) ก็จะอาจเกิดการแพ้ คัน หอบหืด ช๊อค (ในบางคนเท่านั้นนะครับ) นอกจากนี้ ความสามารถในการดูดซับของผงแป้ง อาจไปดูดซับจุลินทรีย์จากสภาพแวดล้อมในห้องทำงาน ซึ่งแม้ส่วนมาก จะเป็นจุลลินทรีย็ที่ไม่เป็นพิษก็ตาม

แม้ว่าถุงมือแพทย์ไม่มีแป้ง ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ผู้ใช้ในห้องปฎิบัติการ อาจจะเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามือมีบาดแผล) ผงแป้งที่ปนเปิ้อนจุลินทรีย์ มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อกว่าการสัมผัสกับจุลินทรีย์เพียงอย่างเดียว

ผงแป้งที่อาจปนเปื้อนจุลลินทรีย์ แม้ว่าจะอยู่ด้านในของถุงมือ ก็อาจออกมาสู่ด้านนอกของถุงมือได้ เช่น รูรั่ว รอยฉีกขาด หรือถุงมือใช้แล้วที่ทิ้งกัยเกลื่อนกลาด ก็มีโอกาสที่แป้งปนเปื้อนจะออกสู่สิ่งแวดล้อมได้

 

เรียบเรียงโดย Siamglove.com

Similar Posts